เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่ “ทฤษฎี”เศรษฐศาสตร์

* รวบรวมจาก comment ที่ให้ไว้ใน Facebook ของ Sorn Art วันที่ 9 มกราคม 2557

สวัสดีครับ ขอแลกเปลี่ยนด้วยความรู้เท่าที่พอจะมีเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้เป็น “ทฤษฎี” (theory) ทางเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นเพียง “กรอบความคิด” (conceptual framework) ในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น

กรอบความคิด นั้นจะกำหนดว่ามีตัวแปรอะไรบ้างต้องพิจารณา โดยไม่ได้ทำนายว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ว่าถ้าสิ่งนี้เปลี่ยนแล้วสิ่งนั้นจะเปลี่ยนไปยังไง ในขณะที่ทฤษฎีนั้นจะทำนายด้วยว่า ถ้าสิ่งนี้เปลี่ยนไปแล้วสิ่งนั้นจะเปลี่ยนไปอย่างไร ทฤษฎีแทบทั้งหมดทางเศรษฐศาสตร์จะทำนายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเสมอ

เศรษฐกิจพอเพียง นั้นเป็นเพียงกรอบความคิด ที่จะเป็นหลักในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น เพราะโดยสาระของทฤษฎีบอกเพียงว่า ในการจะทำอะไรหนึ่งๆนั้นจะต้องคำนึงถึง 3 ส่วนคือ มีเหตุมีผลหรือไม่ พอประมาณหรือไม่ และมีภูมิคุ้มกัน/แผนสำรองเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดต้องอยู่ในกรอบของความรู้และคุณธรรม

Continue reading “เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่ “ทฤษฎี”เศรษฐศาสตร์”

การยอมรับความแตกต่างทางศีลธรรม

ผมคิดว่าเราควรยอมรับความแตกต่างกันทางอุดมการณ์ และความคิดเห็นทางสังคมการเมืองอย่างที่สุด แต่ความแตกต่างทางศีลธรรมเรายอมรับได้มากถึงระดับหนึ่งเท่านั้น

ผมเชื่อว่าด้วยประสบการณ์ความคิดความเชื่อและภูมิหลังทางสังคมย่อมทำให้ความเห็นว่า สิ่งใดควรทำไม่ควรแตกต่างกันไป

แต่มันจะมีบางอย่างที่ทำแล้ว ผลเชิงประจักษ์ยังไงก็เหมือนกัน คือ

1) ถ้าเราไปต่อยคนอื่น คนนั้นย่อมเจ็บ, ถ้าเราไปฆ่าใคร คนนั้นย่อมทรมานและตาย คนที่รักเขาย่อมเสียใจอย่างยิ่ง การงานที่เขารับผิดชอบย่อมเสียหาย;

2) ถ้าเราไปขโมยของคนอื่น เขาย่อมเสียโอกาสที่จะใช้ประโยชน์สิ่งนั้นตามที่เขาควรทำ และเสียใจ อาจส่งผลกระทบไปถึงแรงจูงใจในการประกอบอาชีพและระบบเศรษฐกิจโดยรวม,

3) ถ้าเราไปคบชู้ นอกใจคนรักของเรา คนรักของเราย่อมเจ็บใจ เสียใจ,

4) ถ้าเราโกหกคนอื่น คนอื่นย่อมไม่รู้ความจริง และอาจตัดสินใจผิดพลาด และเมื่อรู้ว่าโดนโกหกก็จะโกรธหรือเสียใจ นำไปสู่ความไม่เชื่อใจกัน เพิ่ม transaction cost ต้องมีสัญญาและการบังคับสัญญาให้ยุ่งยากเพิ่มเติมขึ้นมา, เราไปพูดยุแยงให้คนแตกกัน ความขัดแย้ง ทำร้ายจิตใจและร่างกายกันย่อมเกิดขึ้น, เมื่อพูดส่อเสียด คนที่ถูกพูดพาดพิงก็ย่อมเจ็บช้ำน้ำใจ

สิ่งเหล่านี้ แม้ว่าจะเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ดี ปรากฎการณ์เชิงประจักษ์เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นอยู่แล้ว ถ้าเห็นกงจักร เป็นดอกบัว คนนั้นย่อมบรรยายว่า ดอกบัวนี้มีเป็นใบโลหะแข็งแหลมคม ฉันใดก็ฉันนั้น

ฉะนั้นผมคิดว่าความแตกต่างทางศีลธรรมนั้นเป็นไปได้และความยอมรับ จนถึงจุดที่มีการกระทำ 4 ประการนี้ ที่ผมเชื่อว่าแนวคิดทางศีลธรรมไหนก็ควรจะเห็นว่า 4 อย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรทำ

หากประกาศว่าเป็นหลักศีลธรรมที่ตนยึดถือ แต่เห็นว่า 4 ประการข้างต้นเป็นสิ่งดี ก็ถือว่าเป็นการโกหกคำโตเลยทีเดียว

Review: The Curious Case of Benjamin Button …”ไตรลักษณ์จากหนังฮอลิวู้ด”

The Curious Case of Benjamin Button ก่อนจะเข้าเรื่องซีเรียสทั้งปวงของหนังเรื่องนี้ต้องบอกก่อนว่า แบรด พิตต์หล่อมาก หล่อสุดๆ อยากหล่อแบบนี้บ้างจริงๆเลย

โอเค เข้าเรื่องกันดีกว่า

ภาพยนตร์เรื่องนี้ก่อนเข้าฉายก็รับรู้ได้ว่าเป็นภาพยนตร์คุณภาพทีเดียว เพราะเข้าชิงรางวัล Academy Award ครั้งที่ 81 ในปี 2009 ที่ผ่านมานี้ถึง 13 รางวัล แม้จะได้รางวัลติดมือกลับบ้านไปเพียง 3 รางวัลเท่านั้น จากสาขา Visual Effects, Make Up, และ Art Direction แต่ก็ต้องยอมรับจริงๆว่าเขาสามารถทำให้แบรด พิตต์ย้อนเวลาจากอายุ 70 กลับไปเป็นเด็กได้อย่างเหลือเชื่อ

เรื่องราวโดยรวมของเรื่องนี้เป็นเรื่องราวชีวิตของชายคนหนึ่งตั้งแต่เกิดจนตาย ชายคนนี้พิเศษตรงที่ว่า เมื่อเขาเกิด เขามีลักษณะไม่ต่างอะไรกับคนแก่ที่ใกล้จะตาย แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขากลับหนุ่มขึ้น จนท้ายที่สุดกลายเป็นเด็กทารกและจบชีวิตของเขาลง เรื่องราวได้ฉายภาพการเดินทางของชีวิตของเขาที่ออกจะสวนทางกับชีวิตของคนทั่วๆไป ซึ่งทำให้เราในฐานะคนดูได้เห็นมุมมองของชีวิตที่แตกต่างออกไป เพราะในระดับหนึ่งหนังได้ฉายมุมมองที่ของตัวละครหลักคนนี้ คือ เบนจามิน ต่อชีวิตของคนปกติที่มองเขา ในขณะเดียวกัน หนังก็ฉายภาพมุมมองของคนอื่นที่มองมายังเบนจามิน ซึ่งในหลายๆครั้งมุมมองน้ันสะท้อนกลับไปเปิดเผยธรรมชาติของคนเหล่านั้น

ผมมองว่าวิธีการเล่าเรื่องค่อนข้างคล้ายคลึงกับภาพยนตร์เรื่อง Forest Gump เมื่อสิบกว่าปีก่อน นำแสดงโดย ทอม แฮงค์ ทั้งสองเรื่องได้สะท้อนเรื่องราวและมุมมองต่อชีวิตในลักษณะที่คนพิเศษมองคนธรรมดาและในทางกลับกัน พร้อมทั้งได้ตั้งคำถามข้อใหญ่เอาไว้

สำหรับผมเมื่อดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว รู้สึกหลายอย่าง แต่สิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญ และอยากแบ่งปันก็คือ ผมรู้สึกว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนความจริงของชีวิต ของธรรมชาติ หรือเรียกได้ว่าสะท้อนสัจธรรมเลยก็ว่าได้ เรียกได้ว่า “กฎไตรลักษณ์” ได้สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนบ้าง โดยนัยบ้างจากภาพยนตร์เรื่องนี้

“…Something’s last…”

ประโยคนี้เป็นประโยคที่นางเอกพูดกับพระเอกในช่วงที่เขากลับมาเจอกันและบอกถึงความรักที่มีต่อกัน แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานสักเท่าไหร่ สังขารจะเปลี่ยนไปอย่างไร เขาก็ยังรักเธอ และเธอก็ยังรักเขา

… แต่ตอนนั้นคงยังไม่นานพอ …

ทั้งคู่มาตระหนักได้ตอนที่การเดินทางที่สวนกันของทั้งสองมาถึงจุดส้ินสุด เมื่อนางเอกกลายเป็นคนแก่ และพระเอกกลายเป็นเด็กที่จำอะไรไม่ได้ บัดนั้นเอง ที่ตัวละครของเรื่อง (ผมจำไม่ได้ว่าพระเอกหรือนางเอก) ได้กล่าวประโยคที่ว่า

“…Nothing’s last…”

สะท้อนหลัก “อนิจจัง” โดยแท้ …

“ความทุกข์” สะท้อนผ่านชีวิตของนางเอกของเรื่องเป็นส่วนใหญ่ ความทุกข์ในที่นี้ในทางพุทธจริงๆแล้วหมายถึงสภาวะที่ถูกกดดันให้เปลี่ยนแปลง … แต่เนื่องจากว่าคนนั้นมีอุปาทานในขันธ์ 5 เห็นผิดว่าตัวตน ความคิด ความสามารถ ความทรงจำ ความรุ้สึก ของเรา จะต้องจีรังยั่งยืน จะต้องเป็นไปตามที่เราคิด ที่เราหวังให้มันเป็น … คนเราจึงต้องเป็นทุกข์เพราะในความเป็นจริง ไม่มีอะไรจีรัง และไม่มีอะไรเป็นอย่างที่เราหวังเสมอไป เพราะทุกอย่างต่างขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย

ความเจ็บของนางเอก, ความร่วงโรยของสังขาร, ความป่วยไข้, ความไม่ได้ดังหวัง, การต้องจากสิ่งที่รัก, การต้องเจอสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ต่างสะท้อนออกมาจากเรื่องราวของนางเอกทั้งสิ้น

ในท้ายที่สุด ความทรงจำของพระเอกก็หายไป หมดสิ้นแล้วความทรงจำและประสบการณ์ทั้งหมดที่หล่อหลอมมาเป็นบุคคลชื่อ เบนจามิน , ความแก่และความตายเองก็ได้พรากชีวิตของทั้งสอง และทุกๆคนในเรื่องไปในที่สุด หมดแล้วซึ่งบุคคลที่ชื่อ เบนจามิน, เดซี่ , และคนอื่นๆ

ฉะนั้นหากมองจากมุมคนนับถือพุทธศาสนาอย่างผม ผมคิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อาจมีคุณูปการต่อผู้คนมากกว่าที่ผู้สร้างคิดก็ได้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอแล้วซึ่ง “เทวทูต 3” เกือบจะครบถึง “เทวทูต 4” กล่าวคือ ภาพยนตร์ได้นำเสนอ “ความแก่” “ความเจ็บ” “ความตาย” ไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว จะขาดก็เพียง “นักบวช” ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตัวเนื้อเรื่องมากนัก แต่ถึงแม้จะเพียง “เทวทูต 3” แต่ผมคิดว่ามันก็มากพอที่จะทำให้คนได้คิดอะไรบางอย่างกับชีวิตให้มากขึ้น

ตัวพระเอกเองได้ฝากจดหมายถึงลูกเอาไว้ ซึ่งผมเสียดายมากๆที่ไม่สามารถจับความได้ถนัดเพราะกลุ่มเด็ก (เวร) ที่นั่งข้างหลังผมรบกวนการดูอย่างมาก แต่เท่าที่จับได้นั้น ตัวพระเอกเองได้สรุปบทเรียนในชีวิตของเขาส่งให้แกลูกสาวไว้แล้ว (หากใครจำได้วานบอก) แม้จะเป็นสปิริตแบบตะวันตกก็ตาม แต่ผมว่านั่นก็มากพอที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

มองจากมุมพุทธอีกเช่นกัน ผมเสียดายไม่น้อยที่ภาพยนตร์ไม่ได้นำเสนอมุมมองในเรื่องของกรรม โดยส่วนตัวผมคิดว่า หากเราได้เห็นชีวิตในลักษณะเหมือนกด Fast Forward ในลักษณะที่ภาพยนตร์นำเสนอ มันน่าจะเห็นแนวโน้มของกรรมและวิบากของมันได้ชัดเจนมากกว่า และง่ายกว่าที่เราเห็นในชีวิตจริง แต่ก้นั่นล่ะ ภาพยนตร์ไม่ได้ตั้งใจสร้างมาเป็นหนังศีลธรรมบนฐานของศาสนาพุทธก็คงคาดหวังอะไรแบบนั้นไม่ได้

อย่างไรก็ดี โดยรวมผมประทับใจภาพยนตร์เรื่องนี้มาก ทั้งในเชิงเนื้อหาและตัวแสดง เป็นภาพยนตร์ที่ผมคิดว่าไม่ควรพลาด และจริงๆควรจะดูหลายๆรอบ ผมว่าแต่ละรอบคงได้อะไรกับชีิวิตมากขึ้นเรื่อยๆเป็นแน่ …

พุทธศาสนา และ Spinoza (1 และหวังว่าจะมีตอนต่อๆไป)

เทอมนี้เป็นเทอมที่หนักหน่วงเอาการทีเดียว ต้องเรียนถึง 7 ตัวในเทอมเดียว แต่โชคดีหน่อยที่มันจะเหลื่อมๆกัน คือ ตัวนึงเริ่มไปแล้วและใกล้จบ สี่ตัวกำลังเริ่มและเรียนไปพร้อมๆกัน อีกสองตัวจะมาต่อตอนหลังแบบไม่ให้หายใจกันเลยทีเดียว ใน 7 ตัวนี่ 4 ตัวเป็นเศรษฐศาสตร์ 3 ตัวเป็นปรัชญา –”

หนึ่งในวิชานึงที่ต้องเรียนเป็นวิชาเกี่ยวกับ Spinoza

Spinoza เป็นนักปรัชญาชาวดัตช์ (ลุกครึ่งยิวกับโปรตุเกส) ในศตวรรษที่ 17 เกิดที่ Amsterdam และก็ย้ายที่ไปหลายที่และไปจบชีวิตที่ Den Haag ด้วยอายุเพียง 44 ปี ถึงแม้ว่าอายุจะสั้นแต่ Spinoza มีอิทธิพลต่อนักปรัชญาที่เขารู้จักเป็นอันมาก นักปรัชญาเหล่านั้นแม้จะมีอายุมากกว่าเขาแต่ก็ถือว่าเขาเป็น Guru ทางด้านปรัชญา เป็นคนที่จะบอกว่า หลักปรัชญาที่คิดขึ้นมานั้นดีหรือไม่ดี ว่ากันว่า เขาย้ายจาก Amsterdam ไปที่อื่นๆเพราะว่ารำคาญคน มีแต่คนจะมาคุยกับเขา บ้างก็ว่าถูกแบนจากเมืองบ้าง

หนังสือเล่มหลัก ของเขาคือ Ethics มีเล่มอื่นด้วยแต่ว่าไม่น่าจะได้เรียนในตัวนี้ Ethics เป็นหนังสือที่กระทั่งตัว Spinoza เองตัดสินใจไม่พิมพ์ตอนมีชีวิตอยู่ด้วยความที่แน่ใจว่า จะต้องขัดกับหลักความเชื่อทางคริสตศาสนาเป็นแน่แท้ โดยเฉพาะในเรื่องคอนเซปเกี่ยวกับพระเจ้า หนังสือเล่มนี้ถูกพิมพ์หลังจากที่เขาเสียชีวิต เมื่อเขาสั่งเสียกับเพื่อนของเขาว่า ให้นำหนังสือเล่มนี้จากลิ้นชักไปจัดพิมพ์หากเกินอะไรขึ้นกับเขา หลังจากเขาเสียชีวิต เพื่อนเขาทำตามคำสั่งเสีย โดยการนำหนังสือไปพิมพ์ ขณะเดียวกัน ในลิ้นชักนั้นก็มีจดหมายโต้ตอบของ Spinoza พร้อมทั้งต้นฉบับที่ยังไม่เสร็จของหนังสือเรื่องอื่นๆอยู่ เพื่อนเขาจึงพยายามรวบรวมจดหมายทั้งหมด และพิมพ์พร้อมกับหนังสือ Ethics

เท่า ที่อาจารย์เล่าให้ฟังคร่าวๆเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้นั้น มันน่าสนใจมากและมีความคล้ายคลึงกับศาสนาพุทธอย่างมาก คือ ถ้าจะเปรียบแบบไม่พอดีนัก อาจบอกได้ว่า ปรัชญา Spinoza เป็นพุทธศาสนาแห่งโลกตะวันตกก็อาจจะพอได้อยู่ ทั้งนี้เพราะจุดมุ่งหมายของ Spinoza มิได้ต้องการตอบความจริงเกี่ยวกับโลกเท่าใดนัก แต่ต้องการที่จะหาวิธีที่จะทำให้มนุษย์อยู่อย่างเป็นสุขและพ้นทุกข์ไปได้!

ใน Ethics มีห้าส่วนหลักๆ Spinoza เล่าเรื่องราวไล่เรียงกันไปดังนี้คือ ส่วนแรกว่าด้วยเรื่องโลกและจักรวาล ให้เห็นภาพรวมของธรรมชาติ พระเจ้า ฯลฯ ส่วนที่สองว่าด้วเยรื่องมนุษย์ องค์ประกอบของมนุษย์ทั้งด้านกายและด้านจิตใจ ส่วนที่สามว่าด้วย ความรู้ของมนุษย์ คือส่วนที่ว่าด้วยจินตนาการ ส่วนที่สี่เป็นเรื่องของอารมณ์ของมนุษย์ ซึ่งครอบงำจิตใจของมนุษย์ และส่วนสุดท้ายคือ ความรู้ที่จะทำให้มนุษย์อยู่อย่างเป็นสุข และพ้นทุกข์ !!!

ได้ฟังดังนี้ก็เกิดความคิดว่า ช่างคล้ายคลึงกับพระพุทธศาสนาอย่างมาก อย่างน้อยก็ในเชิงเป้าหมาย ในพระพุทธศาสนาเองก็ได้มีการพูดถึงในทุกๆส่วนที่ Spinoza ได้พุดถึง แม้ว่าจะไม่ได้ใช้วิธีการเขียนแบบเดียวกันก็ตาม แต่จากการที่ศึกษาศาสนาพุทธมาระดับหนึ่งก็ทำให้เห็นความคล้ายคลึงของทั้งสอง หลักมากทีเดียว

ระหว่างพักได้ไปถามอาจารย์ว่า ฟังเรื่อง Spinoza ทำให้นึกถึงพระพุทธเจ้า อาจารย์บอกว่า มีหลายคนอยู่ที่เปรียบเทียบ Spinoza กับศาสนาพุทธ หรือปรัชญาตะวันออก แต่ก็มีจุดด้อยอยู่เยอะและไม่ค่อยวิพากษ์เท่าใดนัก … ได้ฟังดังนั้นจึงรู้สึกว่า นี่น่าจะเป็นประเด็นสำหรับ final essay ได้เลยทีเดียว และรู้สึกได้กับตัวเองว่าเราน่าจะทำได้ดีกว่างานที่เคยมีมา ในฐานะที่เราเป็นคนพุทธและศึกษาศาสนามาระดับหนึ่งและเข้าถึงพระไตรปิฎก และชุมชนธรรมะที่จะให้คำแนะนำได้ ..

ตอนนี้สั่งซื้อหนังสือ Ethics ของ ​Spinoza ไปแล้ว (ประมาณ 12 ยูโรครับพ่อ) น่าจะได้อย่างช้าต้นสัปดาห์หน้า จากนั้นคงจะได้ศึกษาเรื่องนี้มากขึ้น และน่าจะได้ค้นพบจุดร่วมและจุดต่างของ Spinoza และพระพุทธศาสนา ที่จะเป็นประโยชน์ทั้งกับตนเอง และอาจจะเป็นประโยชน์กับโลกตะวันตกก้ได้

Buddhist’s approach on Meta-Ethics

Buddhist’s approach on Meta-Ethics
Chol Bunnag

Abstract
In this essay, I develop Buddhist’s approach on Meta-ethics based on three world-view principles of Buddhism, namely, Three Characteristics of Existence, Laws of Karma, and the nature of human mind and its relationships to Buddhist’s five precepts. The main question to be addressed is whether there is a moral fact or truth value in a moral expression. My main argument is that there are three types of moral expression: Universal Moral Expression, Local Moral Expression, and Subjective Moral Expression. All of them contain moral facts, because they are all expressing the response of their minds to the consequences of their actions and other perceived objects. Also, for the first two types, the expressions are intersubjective facts among people in a community. I also compare this approach with other two approaches in meta-ethics, namely, Sensibility Theory and Kantian Constructivism.

Continue reading “Buddhist’s approach on Meta-Ethics”